หน้าแรก » ดูดไขมัน » ผ่าตัดกระเพาะอาหาร หรือใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารดีกว่ากัน
ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร VS ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

สาวอวบก็มีสุขภาพดีได้ แต่หากคุณมีไขมันสะสมในปริมาณมากและมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน แบบนี้คงไม่ดีแน่ สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าคุณมีโอกาสเผชิญกับความเจ็บป่วย โรคภัยมากมาย เช่น

  • ไขมันพอกตับ
  • หยุดหายใจขณะหลับ
  • โรคหัวใจ/หลอดเลือด
  • กรดไหลย้อน
  • ปัสสาวะเล็ด
  • โรคเบาหวาน
  • โรคข้อเสื่อม

โรคอ้วน (obesity) หรือ ผู้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน มักมีไขมันสะสมเป็นจำนวนมากอันเกิดจากระบบการทำงานของร่างกายเกิดความผิดปกติ หรือมีการกินอาหารที่มากกว่าการใช้งานร่างกายจึงไม่สามารถเผาผลาญได้หมดจนสะสมในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย  จนทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ ไม่มั่นใจในตัวเอง ทำกิจกรรมบางอย่างไม่คล่องตัว ปวดหลัง ปวดตามข้อ นอนกรน และอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน

ค่าน้ำหนักมาตรฐาน วิธีการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI)

  • ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) x ส่วนสูง (เมตร)
  • ตัวอย่างเช่น คุณมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม สูง 1.56 x 2 = BMI 16.03

ผลลัพธ์การคำนวนค่า BMI ตามมาตรฐานคนเอเชีย

  • BMI น้อยกว่า 18.5 คือ มีน้ำหนักต่ำกว่าค่ามาตรฐาน หรือคนผอม มีภาวะเสี่ยงสูงที่ร่างกายอาจขาดสารอาหาร ส่งผลกกระทบให้ร่างกาย ภูมิคุ้มกันต่ำ อ่อนเพลียง่าย กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ควรเพิ่มสารอาหารประเภทโปรตีน วิตามิน เพื่อให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้เพียงพอ
  • BMI ระหว่าง 18.5 – 22.90 คือ น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ กลุ่มนี้จะมีภาวะความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนน้อยที่สุด
  • BMI 23 – 24.90 คือ น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ควรออกกำลังกาย หรือลดอาหารที่มีไขมันสูง เพื่อลดน้ำหนัก
  • BMI 25 – 29.90 คือ สภาวะโรคอ้วนระดับที่ 1
  • BMI ค่าที่มีมากกว่า 30 ขึ้นไป คือ สภาวะโรคอ้วนระดับที่ 2

การดูแลตัวเองเมื่อต้องเผชิญกับไขมันที่สะสมอยู่มาก หรือ ภาวะอ้วน

  1. ควบคุมอาหาร ลดแป้ง คาร์โบไฮเดรต เลือกทานอาหารที่มีไฟเบอร์เพื่อการเผาผลาญ เช่น ผักและผลไม้
  2. จิบน้ำระหว่างวันอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 2 ลิตร 
  3. งดทานอาหารประเภททอด น้ำอัดลม น้ำตาล
  4. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หวาน เค็ม 
  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที
  6. นอนหลับพักผ่อนให้สนิทอย่างเต็มที่ เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว

สิ่งเหล่านี้ต้องมีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน สำหรับบางคนอาจทำได้แต่ยังมีอีกหลายคนที่ไม่สามารถทำได้อย่างเคร่งครัด ทำให้เกิดความท้อถอยและไม่อาจฟื้นคืนร่างกายให้กลับมามีน้ำหนักในเกณฑ์มาตรฐานและกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายจำนวนมากได้ ดังนั้นการปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อขอรับคำแนะนำและแก้ไขปัญหา โดย BODY FAT ศูนย์ดูแลผู้เผชิญกับภาวะโรคอ้วน มีไขมันสะสมมาก ไม่มั่นใจในตัวเองทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ให้บริการภายใต้การดูแลจากทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน โดยเฉพาะเทคนิคการผ่าตัดกระเพาะอาหารอย่างปลอดภัยและมีมาตรฐาน พร้อมยังมีเทคนิคเฉพาะเช่น

  • การเลือกใช้ไหมสำหรับกระเพาะอาหารเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือโรคแทรกซ้อน 
  • ห้องผ่าตัดที่มีมาตรฐานสูงระดับโรงพยาบาล ปลอดภัย ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข 
  • เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย เจ็บน้อย ไม่ต้องพักฟื้นนาน 
  • ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 30 ปี หรือ 30,000 เคสต่อปี 
  • ฯลฯ

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร หรือใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร ช่วยแก้ไขปัญหาโรคอ้วนได้ดีกว่ากัน

ในการดูแลแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น คนไข้จำเป็นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่าเทคนิคแต่ละรูปแบบการรักษานั้น แพทย์จะทำการประมวลและวิเคราะห์จากสุขภาพ น้ำหนักตัว พฤติกรรมการใช้ชีวิต โรคประจำตัว และอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อแนะนำวิธีการรักษาให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด จึงทำให้ BODY FAT ได้รับความพึงพอใจและได้รับการบอกต่อเนื่องด้วยเคสที่ผ่านการเข้ารับการดูแลจากทีมแพทย์ของเราประสบความสำเร็จ มีรูปร่างเฟิร์ม กระชับ สุขภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเราคัดสรรรูปแบบที่เหมาะสมกับคุณ

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเป็นวิธีการรักษาโรคอ้วนที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคมากมาย วิธีนี้จะช่วยคุมน้ำหนักได้ในระยะยาว ทำให้มีสุขภาพและรูปร่างที่ดีมากยิ่งขึ้น การผ่าตัดกระเพาะอาหารทำได้ 2 แบบ

1. ผ่าตัดลดน้ำหนักแบบสลีฟ (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy : LSG)  เทคนิคการผ่าตัดกระเพาะออกประมาณ 80% เพื่อให้กระเพาะมีขนาดเล็กลง ช่วยให้หิวน้อย เหมาะสำหรับผู้ที่เผชิญกับโรคอ้วนอันไม่สามารถผ่าตัดแบบบายพาสกระเพาะอาหารได้ เช่น ผู้ป่วยกรดไหลย้อน

2. ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Laparoscopic REY Bypass gastrectomy) หรือ (Roux-en-Y gastric bypass : RYGB)  เป็นการผ่าตัดลำไส้ที่ดูดซับน้ำตาลออก เพื่อให้สามารถลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังลดการเกิดแรงดันในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยกรดไหลย้อน สามารถทำการรักษาวิธีนี้ได้

ผู้ที่เหมาะกับวิธีการผ่าตัดกระเพาะ ได้แก่

  1. ผู้ที่สามารถดมยาสลบได้
  2. ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน หรือมีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 
  3. ผู้ที่เผชิญกับโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วน เช่น เบาหวาน หรือ ความดันโลหิตสูง 
  4. ผู้ที่พยายามลดน้ำหนักแล้วแต่ไม่สำเร็จ

การใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร

การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารจะช่วยให้อิ่มง่าย อิ่มเร็วและกินได้น้อย ทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ และเมื่อน้ำหนักลดลงตามต้องการแล้วก็สามารถนำบอลลูนออกได้เช่นกัน โดยบอลลูนจะสามารถใส่ไว้ได้ไม่เกิน 12 เดือน วิธีนี้ไม่เจ็บ ไม่ต้องพักฟื้น แต่จะมีผลข้างเคียงทำให้รู้สึกอยากอาเจียนประมาณ 3-4 วันแรกหลังจากเข้ารับการรักษา และต้องติดตามผลเพื่อเติมน้ำเกลือทุก 4-6 เดือน เพื่อขยายหรือลดขนาดบอลลูนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

ผู้ที่เหมาะกับวิธีการใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร ได้แก่

  1. ผู้ที่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้ด้วยตัวเอง 
  2. ผู้ที่ไม่สามารถดมยาสลบ

ข้อจำกัดของการรักษาแต่ละวิธีจะช่วยให้เลือกวิธีที่เหมาะสมอย่างชัดเจนแก่ผู้ที่ต้องการเข้ารับการรักษา นอกจากนี้การผ่าตัดกระเพาะยังมีอีกหลายวิธี ดังนั้นหากคุณกำลังมีความสนใจต้องการลดน้ำหนัก ดูแลตัวเอง ให้มีรูปร่างที่ดี รักษาโรคบางชนิด สร้างความมั่นใจมากยิ่งขึ้นก็สามารถรับคำปรึกษาแนะนำจากทีมแพทย์ BODY FAT ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

Body Fat Center ให้การดูแลตลอดขั้นตอนการดูดไขมันโดยวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สนใจปรึกษาเรื่องการปรับรูปร่างได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ติดต่อเรา