สาเหตุที่ต้องผ่าตัดเต้านมชาย (mastectomy)
ผ่าตัดเต้านม (mastectomy) การผ่าตัดเต้านม ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้และกล้ามเนื้อหน้าอกออกไป โดยสามารถเป็นการรักษามะเร็งเต้านมได้ด้วยเช่นเดียวกัน โดยการผ่าตัดเต้านมในการรักษามะเร็งทำได้โดย
- การผ่าตัดเต้านมบางส่วน (partial หรือ segmental mastectomy) การตัดก้อนมะเร็งหรือเนื้อเยื่อเต้านมบางส่วนออก
- ตัดเต้านมออกทั้งหมด (total หรือ simple mastectomy) การตัดเต้านมออกไปทั้งหมด
- ตัดเต้านมและต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ (modified radical mastectomy) ตัดเต้านม ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้และกล้ามเนื้อหน้าอกบางส่วน
- ตัดเต้านมและผนังหน้าอกทั้งหมด (radical mastectomy) การตัดเต้านม กล้ามเนื้อหน้าอกรวมทั้งต่อน้ำเหลืองใต้รักแร้ออกทั้งหมด
โดยปัจจุบันการผ่าตัดเต้านมเพื่อลดปัญหาก้อนนมในเพศชาย (gynecomastia) มีขนาดใหญ่คล้ายเต้านมผู้หญิงจนทำให้เกิดความไม่มั่นใจ มีปัญหาต่อการขยับร่างกายในการทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง รวมทั้งการเลือกเสื้อผ้าสวมใส่ก็ทำได้ยากเพราะรูปร่างช่วงบนใหญ่ใส่เสื้อแล้วแน่น รัด ไม่สวมงามอย่างที่ต้องการ
เต้านมชายมีขนาดใหญ่หรือ ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย (gynecomastia) หรือ นมแหลม ไมีมีอันตรายต่อสุขภาพหรือเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ
สาเหตุที่ทำให้เต้านมใหญ่ในเพศชาย
- ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ
- ความผิดปกติของโครโมโซม หรือ klnefelter syndrome
- โรคตับ
- ความอ้วน มีน้ำตัวเพิ่มขึ้นจากการสะสมไขมันเป็นเวลานาน
- การใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ กัญชา ยาลดกรด เคมีบำบัด ฯลฯ
การเกิดขึ้นของก้อนในเต้านมชายสามารถหายไปได้เองแต่ก็ไม่อาจหายไปอย่างราบเรียบตามต้องการ “นมแหลม” หรือ เต้ามนมโตในผู้ชายทำให้เกิดความไม่มั่นใจด้วยลักษณะหน้าอกที่แหลม ย้วย หรือเป็นก้อนออกมาอย่างเห็นได้ชัด โดยลักษณะของเต้านมใหญ่ในเพศชายมีอยู่ด้วยกัน 3 ลักษณะ
การแก้ไขเต้านมใหญ่ในผู้ชายสามารถทำการผ่าตัดให้มีขนาดเล็กลงได้ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้กำหนดวิธีตามลักษณะหน้าอก ร่วมกับการตรวจสอบว่าความผิดปกตินั้นเกิดจากอะไร ไม่ว่าจะเป็น
- นมแหลมจากไขมัน (pseudo-gynecomastia) หรือ
- เต้านมใหญ่จากการที่มีเยื่อเต้านมและไขมัน (true gynecomastia)
การผ่าตัดลดขนาดเต้านม เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหา
การรักษาอาการนมแหลมในผู้ชายได้ดี และกลับมาเป็นซ้ำได้ยากมาก
โดยการอัลตราซาวด์ และยังมีการตรวจสอบประวัติสอบถามอาการข้างเคียงโดยหากพบว่า คุณมีอาการเจ็บ บวม เมื่อสัมผัสหน้าอกแล้วรู้สึกเจ็บแปล๊บ เช่นนี้อาจต้องมีการตรวจหาสภาพความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม
วิธีการรักษาภาวะเต้านมโตในผู้ชาย
- การผ่าตัดเอาก้อนเนื้อนมออก (excision)
- ดูดไขมัน (liposuction)
- การผ่าตัดร่วมกับการดูดไขมัน
ดูดไขมันหน้าอก (breast liposuction)
เป็นวิธีการรักษาในผู้ที่มีนมแหลมจากไขมัน โดยวิธีการนี้จะร่วมกับการออกกำลังกาย คุมอาหาร แผลเล็กและฟื้นตัวเร็ว
การผ่าตัดเต้านมชาย (gynecomastia surgery)
ทำได้ด้วยวิธีที่เหมาะสมในแต่ละบุคคลโดยแพทย์ผู้ชำนาญกรจะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมว่าควรใช้วิธีการใดในการแก้ไขเต้านมใหญ่ในเพศชาย สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือเผชิญกับภาวะโรคอ้วน ควรลดน้ำหนักก่อนเข้ารับการผ่าตัดเพื่อผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเต้านมชาย
- งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบถึงโรคประจำตัวและยาที่ทานแต่ละวัน
- หลีกเลี่ยงการทานยาต้านอักเสบ ยาแก้ปวด วิตามิน และอาหารเสริม เช่น น้ำมันตับปลา
การดูแลหลังการผ่าตัดเต้านมชาย
- งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 อาทิตย์
- งดการออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงการยกของหนักประมาณ 6 สัปดาห์