ผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก

ผ่าตัดกระเพาะ รักษาโรคอ้วน และลดน้ำหนักได้หรือไม่

ความกังวลและความไม่มั่นใจเกิดขึ้นทวีคูณเมื่อคุณได้ใช้เวลาในการออกกำลังกายอย่างหนักเพื่อลดน้ำหนักแต่กลับไม่เห็นผลเสียที แม้ทดลองวิธีการลดน้ำหนักด้วยวิธีต่างๆ ก็ยังไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ ความอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์จากการคำนวนค่า ดัชนีมวลกาย (BMI)

วิธีคำนวนดัชนีมวลร่างกาย

  • เมื่อคำนวนแล้วได้ผลดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.5 คือ ผอมเกินมาตรฐาน
  • คำนวนแล้วได้ผลดัชนีมวลกาย ระหว่าง 18.5 – 22.9 คือ น้ำหนักมาตรฐาน
  • คำนวนแล้วได้ผลดัชนีมวลกาย มากกว่า 25.0 – 29.90 คือ เข้าสู่ภาวะอ้วน 

อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์จากการเช็ค BMI นี้จะเป็นวิธีการคำนวณแบบสากล สำหรับชาวเอเชียหากคำนวณแล้วพบว่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 22 นั้นส่งผลว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับภาวะอ้วนควรควบคุมน้ำหนักเพื่อไม่ให้ปริมาณไขมันสะสมมากเกินไปจนทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

ข้อมูลอ้างอิง : mahidol.ac.th

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก

กรณีที่พบว่าดัชนีมวลกายไม่สูงแต่กลับมีไขมันสะสมปริมาณมากจนเห็นได้ชัด เช่น ไขมันหน้าท้อง (พุง) รอบเอวสูง แบบนี้ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดไขมันไม่ให้สะสมเป็นจำนวนมากและทำให้ส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว

ไขมันหน้าท้องหรือพุง เกิดจากอะไร

ความอ้วนและการที่มีไขมันหน้าท้อง (พุง) ที่ถูกสะสมจำนวนมากและเพิ่มปริมาณไขมันได้อย่างต่อเนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้  เช่น

  • นอนน้อย
  • ความเครียด
  • รับประทานอาหารตลอดเวลา หรือทานขนมของจุกจิกบ่อยครั้ง รวมทั้งการทานแล้วก็เอนตัวนอนทันที
  • โปรตีนน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ทานอาหารสำเร็จรูป บะหมี่สำเร็จรูปและเนื้อสัตว์ติดมันเป็นประจำ
  • ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
  • ไม่ออกกำลังกายหรือไม่ขยับร่างกายเลยในแต่ละวัน
  • ไขมันหน้าท้องหรือชั้นไขมันที่หนาจับเกาะบริเวณท้องหรือพุง ไม่ได้เป็นเพียงไขมันชั้นเดียว แต่ภายใต้นั้นประกอบไปด้วย 3 ส่วนด้วยกัน นั่นก็คือ ไขมันใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อและไขมันในช่องท้อง
ลักษณะของพุง

ไขมันหน้าท้องหรือพุง เกิดจากอะไรบ้าง

1. ไขมันใต้ผิวหนัง (subcutaneour fat)

หรือไขมันที่อยู่ติดกับผิวหนังและกล้ามเนื้อ เมื่อเราลองหยิบจับผิวหนังของเราขึ้นมาหากเป็นชั้นหนาแสดงว่า เรามีไขมันเกาะมากพอสมควรแต่หากเป็นแผ่นหนังบาง หมายความว่า ชั้นไขมันไม่มากหรือแทบไม่มีเลย ซึ่งชั้นไขมันใต้ผิวหนังนี้จะปกคลุมกล้ามเนื้อท้องหรือ six pack เอาไว้อีกชั้นนึง หากเราไม่มีไขมันใต้ผิวหนังหรือมีน้อย ก็จะทำให้มองเห็นกล้ามท้อง หรือ six pack /sexy line  ได้อย่างชัดเจน

2. ไขมันในช่องท้อง (visceral fat)

ไขมันที่อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อท้องและอวัยวะในช่องท้อง ไขมันบริเวณช่องท้องนี้หากมีมากจะเข้าไปปกคลุมอวัยวะในช่องท้องและจะส่งผลให้ขวางการทำงานของระบบในร่างกาย จึงส่งผลกระทบให้เกิดความเจ็บป่วย สุขภาพทรุดโทรม

ในกรณีที่พบว่าคุณมีน้ำหนักตัวเกิน เสี่ยงต่อภาวะโรคอ้วน ดัชมีมวลกายสูง เกิดความอึดอัดเคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ไม่มั่นใจในตัวเอง ใช้ชีวิตประจำวันติดขัดก็สามารถขอรับคำปรึกษาในการแก้ไขความกังวลใจนี้ได้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยปัจจุบันมีการดูแลคลายความกังวลสำหรับผู้ที่เผชิญกับปัญหาเหล่านี้หลากหลายวิธี

เทคนิคกำจัดไขมันสะสม ภายใต้การดูแลจากแพทย์

  • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก (Bariatric surgery)
  • เย็บกระเพาะ (overstitch)
  • ตัดหนังหน้าท้อง (tummy tuck)

ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก (Bariatric surgery) วิธีการผ่าตัดที่ได้รับการยอมรับมายาวนานกว่า 20 ปี และได้รับการยอมรับนำไปใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศในการแก้ไขปัญหา “โรคอ้วน” “น้ำหนักเกิน” “ไขมันเกาะตัวหนา” สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงเป็นผลกระทบต่อสภาพจิตใจแต่ยังส่งผลต่อสุขภาพกายอย่างรุนแรงซึ่งอาจเสี่ยงต่อชีวิต ด้วยเทคนิคทางการแพทย์ การผ่าตัดกระเพาะอาหารลดน้ำหนักเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาเพื่อให้ผู้เผชิญกับโรคอ้วนมีน้ำหนักตัวลดลง การผ่าตัดจะช่วยให้ทานอาหารได้น้อย อิ่มไวจึงช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง

ด้วยเทคโนโลยีและเทคนิควิธีทางการแพทย์ที่ทันสมัยทำให้การผ่าตัดกระเพาะมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่เผชิญกับโรคอ้วนรุนแรงและมีโรคประจำตัวแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน* ( แผลเล็กเพียง 1-2 นิ้ว (ผ่าตัดแบบส่องกล้อง (minimally invasive surgery)) เจ็บน้อยและยังฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

ห้องผ่าตัดขนาดใหญ่ มีมาตรฐาน มั่นใจปลอดภัยทุกเคส

การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Roux-en-Y)

เทคนิคการผ่าตัดส่องกล้องบริเวณหน้าท้อง (แบบบายพาส) หรือ (Roux-en-Y Gastric Bypass : REYGB) คือ การสอดเครื่องมือเข้าไปทำการผ่าตัดอันเป็นรูปแบบวิธีมาตรฐานที่ได้รับความนิยม แผลเล็ก เจ็บน้อยและได้ผลลัพธ์ที่ดี วิธีนี้จะช่วยให้สามารถลดน้ำหนักได้มาก ช่วยให้หิวน้อยลงหรือไม่ทำให้รู้สึกหิวเลย การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส จึงเหมาะสำหรับ

  • ผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากกรดไหลย้อน เบาหวานเริ่มต้น
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดแบบสลีฟได้ 

การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ (Gastric Sleeve)

เทคนิคการผ่าตัดแบบสลีฟ หรือ laparoscopic sleeve gastrectomy : LSG เหมาะสำหรับผู้ที่เผชิญกับภาวะโรคอ้วนมาก น้ำหนักตัวสูงเกินมาตรฐานมากๆ และไม่เหมาะกับผู้ที่เคยปรับขนาดกระเพาะด้วยวิธีการใส่ห่วง การผ่าตัดวิธีนี้จะเป็นการตัดกระเพาะให้มีขนาดเล็กลงถึง 80% โดยกระเพาะจะมีขนาดเพียง 100-150 cc. เท่านั้น

นอกจากนี้กระเพาะในส่วนที่ผลิตฮอร์โมนหิวถูกตัดออกไปเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ไม่หิว รับประทานอาหารได้น้อยน้ำหนักตัวจึงลดลงได้ถึง 60% ช่วยผยุงภาวะเบาหวาน ไขมันสะสม ความดันโลหิตสูงและอาการหยุดหายใจขณะหลับให้ดียิ่งขึ้น  การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางเพื่อความปลอดภัยที่มากยิ่งขึ้น

ขณะทำการผ่าตัดแพทย์จะส่องกล้องผ่านหน้าท้อง 3-5 แผล และใช้เครื่องมือพิเศษนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ภายใต้ความเชี่ยวชาญทีมแพทย์ร่วมกับการใช้เทคนิคการเย็บกระเพาะด้วยเทคนิคเฉพาะ Double Lock สำหรับลำไส้และกระเพาะอาหารโดยเฉพาะจึงช่วยลดความเสี่ยงในภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และยังเป็นไหมที่มีความแข็งแรงป้องกันกระเพาะขยายตัว

ขั้นตอนการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ ต้องใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 3-4 วัน เนื่องจากการผ่าตัดมีความละเอียดอ่อนเพื่อความปลอดภัยและแพทย์จะเข้าทำการตรวจสอบความเรียบร้อยเพื่อให้มั่นใจว่าแผลกระเพาะจะไม่มีรอยรั่ว

เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟแล้ว ควรหลีกเลี่ยงของหวาน ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก (Overstitch)

ผ่าตัดกระเพาะแบบ overstitch

 เทคนิคการเย็บกระเพาะใหม่ล่าสุด และกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เจ็บน้อย ไร้แผลเป็น ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว นอนพักฟื้นที่ห้องพักผู้ป่วย 1 คืน (ทางคลินิกมีห้องพักฟื้นให้บริการ) และยังสามารถรักษาได้แม้มีโรคแทรกซ้อนจาก เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ ไขมันเกาะตับ ฯลฯ​

 ผู้สูงวัย (อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป) ผู้เยาว์อายุน้อยแต่ต้องเผชิญกับน้ำหนักตัวและมวลไขมันอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ที่มีอวัยวะภายในช่องท้องผิดปกติ ผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัด สามารถเข้ารับการแก้ไขด้วยเทคนิควิธีการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบนี้ได้

ขั้นตอนการดำเนินการ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านผ่าตัดกระเพาะด้วยโอเวอร์สติ๊ช (overstitch) นอ.นพ.ปณต ยิ้มเจริญ (ศัลยแพทย์ทางเดินอาหารและผ่าตัดลดน้ำหนัก) จะสอดเครื่องมือทางปากขณะที่คนไข้หลับเช่นเดียวกับการทำการผ่าตัดด้วยกล้อง ทำให้วิธีการผ่าตัดนี้ไม่เกิดบาดแผล เจ็บน้อย เพื่อผลลัพธ์ที่ชัดเจนและดียิ่งขึ้นผู้เข้ารับการผ่าตัดควรออกกำลังกายควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่ดีต่อร่างกาย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดกระเพาะ


การผ่าตัดกระเพาะ ทำให้มีโอกาสที่จะลดน้ำหนักได้ตามเป้าหมาย จุดประสงค์ที่แท้จริงของการผ่าตัดกระเพาะ คือ เพื่อรักษาโรคอ้วน (Bariatric surgery) เพื่อทำให้คนเป็นโรคอ้วนสามารถใช้ชีวิตได้ดีตามปกติ โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคตับ ฯลฯ

นอกจากการผ่าตัดกระเพาะ จะสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้แล้ว การรักษานี้ยังให้คนไข้ ควบคุมน้ำหนักได้ดีในระยะยาว การผ่าตัดกระเพาะจึงไม่ได้มุ่งเน้นที่จะทำเพื่อความสวยงาม แต่ทำเพื่อสุขภาพและร่างกายที่ดีขึ้น ลดการบาดเจ็บจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป

การผ่าตัดกระเพาะ แบ่งเป็น 2 รูปแบบด้วยกันคือ

  • การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบบายพาส – เหมาะกับผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนของกรดไหลย้อน เบาหวานเริ่มต้น และจะมีแผลผ่าตัดขนาดเล็กกว่าแบบสลีฟ
  • การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบสลีฟ – เหมาะกับผู้ที่ภาวะโรคอ้วน น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน (BMI) เป็นการผ่าตัดกระเพาะให้มีขนาดเล็กลงถึงประมาณ 80% เลยทีเดียว

ผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 18-70 ปี เรียกว่าสามารถผ่าตัดได้ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นไปจนถึงวัยชราได้เลย โดยไม่มีวัยใดมีความเสี่ยงสูงไปกว่ากัน

หลังการผ่าตัดภายใน 4 อาทิตย์ ท่านสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่หลังจากผ่าตัดท่านสามารถทำตามแพทย์แนะนำได้ดังนี้

  1. อาทิตย์แรกหลังผ่าตัดจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีความเหลวใส เป็นน้ำ
  2. อาทิตย์ที่ 2 หลังเข้ารับการผ่าตัดสามารถรับประทานอาหารเหลว แต่มีความข้นขึ้นมาอีกนิดได้
  3. อาทิตย์ที่ 3 สามารถรับประทานอาหารที่มีลักษณะอ่อนนุ่มได้ เช่น โจ๊ก ไข่ตุ๋น
  4. อาทิตย์ที่ 4 จึงสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
ติดต่อเรา