หน้าแรก » ผ่าตัดกระเพาะ » ผ่าตัดกระเพาะแบบไหนดีกว่ากัน

ผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ VS ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส

เชื่อว่ามีหลายคนที่พยายามลดน้ำหนักไม่ว่าจะออกกำลังกาย หรือควบคุมอาหารแล้วก็ยังไม่เห็นผลเลย กว่าจะลดได้แต่ละขีดใช้เวลาหลายสัปดาห์ แต่พอน้ำหนักขึ้นกลับใช้เวลาไม่กี่วัน ทำให้หลายคนเลือกที่จะปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีลดน้ำหนักที่เห็นผล โดยไม่อันตรายต่อสุขภาพซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การผ่าตัดกระเพาะ ซึ่งเป็นการลดน้ำหนักที่เห็นผลถาวร และเห็นผลภายในระยะเวลาเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น

ผ่าตัดกระเพาะ เพื่อลดน้ำหนัก คืออะไร?

การผ่าตัดกระเพาะ (Bariatric Surgery) คือ การผ่าตัดเพื่อลดขนาดของกระเพาะอาหารให้เล็กลง ส่งผลให้รับประทานอาหารได้น้อยลง เมื่อทานอาหารเข้าไปรู้สึกอิ่มไวขึ้น จึงทำให้น้ำหนักลดน้อยลงนั่นเอง การผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักสามารถลดน้ำหนักได้ประมาณ 18-40% ของน้ำหนักตัว

ข้อดีของการผ่าตัดกระเพาะ

  1. ช่วยลดขนาดของกระเพาะอาหาร ทำให้รับประทานอาหารเพียงเล็กน้อยก็รู้สึกอิ่ม ช่วยในการประหยัดค่าอาหารมากขึ้น
  2. ผู้เข้ารับการผ่าตัดมีความมั่นใจในรูปร่างตัวเองมากขึ้น
  3. ป้องกันโรคที่เกิดจากความอ้วน

ผ่าตัดกระเพาะ เพื่อลดความอ้วนเหมาะกับใครบ้าง?

การผ่าตัดกระเพาะอาหารไม่ใช่ว่าทุกคนที่น้ำหนักเกินจะสามารถผ่าตัดได้ ผู้ที่สามารถเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะได้จะต้องผ่านเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-65 ปี
  • ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 40 kg/m²
  • ผู้ที่พยายามลดน้ำหนักจากการออกกำลังกาย หรือควบคุมอาหารแล้วไม่เห็นผล
  • ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 35 kg/m² ร่วมกับโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง นอนกรน โรคข้อเสื่อม ฯลฯ ตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป

ผ่าตัดกระเพาะมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร เป็นอีกหนึ่งวิธีลดน้ำหนักทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยมทั้งในประเทศ และต่างประเทศมายาวนานกว่า 20 ปี โดยในปัจจุบันนี้การผ่าตัดกระเพาะที่มาตรฐาน และได้การยอมรับมีทั้งหมด 2 ประเภท คือ

1. ผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy)

เป็นการผ่าตัดกระเพาะอาหารที่เหมาะกับคนที่อ้วนมากๆ ที่พยายามลดน้ำหนักแล้วทุกวิธีแต่ก็ยังไม่เห็นผล การผ่าตัดแบบสลีฟเป็นการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ โดยจะทำการผ่าตัดเอากระเพาะออกไปประมาณ 75-80% ทำให้ความสามารถในการทานอาหารลดน้อยลง แถมกระเพาะที่ถูกตัดออกไปยังเป็นส่วนที่ผลิตฮอร์โมนควบคุมความหิวอีกด้วย ทำให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดมีความอยากอาหาร ความหิวอาหารลดน้อยลง และการผ่าตัดแบบสลีฟจะทำให้น้ำหนักตัวลดลงถึง 40-60% นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงการเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน เป็นต้น

ข้อดีของการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ

  • ไม่ต้องพักฟื้นนาน
  • ความอยากอาหารลดลง เพราะการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟได้ทำการผ่าตัดเอาส่วนที่ผลิตฮอร์โมนควบคุมความหิวออกไปด้วย
  • น้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด
  •   ลดความเสี่ยงการเกิดโรคที่เกิดจากความอ้วน

ข้อเสียของการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ

  • บางคนอาจจะมีอาการกรดไหลย้อน
  • หากชอบหวาน ชอบทานน้ำหวาน ชอบทานขนมหวานมากๆ น้ำหนักอาจจะลดลงยากเช่นเดิม แม้จะทำการผ่าตัดกระเพาะมาแล้ว
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่เคยปรับขนาดกระเพาะด้วยการใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหารมาก่อน
  • ความเสี่ยงเสี่ยงสูง ถ้าหากจะทำการผ่าตัดกระเพาะต้องเลือกผ่าตัดกับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสูง

2. ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Laparoscopic Gastric Bypass)

การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส เป็นการผ่าตัดโดยใช้การส่องกล้องเช่นเดียวกับการผ่าตัดแบบสลีฟ แต่ผ่าตัดแบบบายพาสจะแตกต่างจากแบบสลีฟตรงที่มีการตัดและการต่อกระเพาะเพิ่มขึ้นอีกจุด การผ่าตัดแบบบายพาสจะทำการผ่าตัดกระเพาะให้เหลือเพียงแค่กระเปาะเล็กๆ จากนั้นนำมาต่อกับลำไส้ส่วนที่สอง

นอกจากนี้แล้วการผ่าตัดแบบบายพาสเป็นการผ่าตัดลำไส้ส่วนที่ดูดซึมน้ำตาลออกด้วย ทำให้การผ่าตัดแบบบายพาสสามารถลดน้ำหนักได้มากและนานกว่านั่นเอง

ข้อดีของการผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส

  • เป็นการผ่าตัดกระเพาะที่ลดน้ำหนักได้มากที่สุด
  • เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อน
  • สามารถรักษาโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ไม่นาน
  • เป็นการผ่าตัดลดน้ำหนักที่เหมาะกับทุกคน
  •  เกิดความรู้สึกหิวลดน้อยลง

ข้อเสียของการผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส

  • ราคาสูง
  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีปัญหาการดูดซึมอาหาร

เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องผ่าตัดกระเพาะ

สำหรับผู้ที่ต้องการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ต้องทำการเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมก่อนผ่าตัดด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะจะต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อเช็กสภาพความพร้อมของร่างกายก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  2.  จะต้องเข้ารับการแนะนำด้านโภชนาการจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ
  3. ทำการตรวจสอบสภาพจิตใจก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพื่อเช็กว่าสภาพจิตใจพร้อมหรือไม่
  4. ทำการตรวจสอบและประเมินโรคประจำตัว ว่าสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้หรือไม่
  5. งดบุหรี่ งดแอลกอฮอล์ งดอาหารเสริม งดวิตามิน อย่างน้อย 1-3 สัปดาห์
  6. แจ้งแพทย์ถ้าหากคิดว่าตัวเองอาจจะตั้งครรภ์
  7. ถ้ามียาโรคประจำตัว หรือยาอื่นๆ ที่ทานอยู่เป็นประจำควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
  8. 2-3 วัน ก่อนวันผ่าตัดควรทานอาหารอ่อน ภายใน 24 ชั่วโมงก่อนผ่าตัดควรทานอาหารเหลว และก่อนเข้าการผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หรือหลังเที่ยงคืนเป็นต้นไปควรงดอาหารและน้ำ

Body Fat Center ให้การดูแลตลอดขั้นตอนการผ่าตัดกระเพาะโดยวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สนใจปรึกษาเรื่องการปรับรูปร่างได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ติดต่อเรา