ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน รักษาการนอนกรนได้จริงหรือไม่?
ตื่นเช้ามาแล้วรู้สึกว่านอนไม่เต็มอิ่ม รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่อยากตื่นนอนเลย คิดว่าตัวเองแค่เป็นคนชี้เซา ขี้เกียจเหมือนคนอื่นๆ แต่กลับมีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ มีประสิทธิภาพการทำงานในด้านความจำและความคิดลดลง อย่าคิดแค่ว่านอนดึก นอนไม่พอ หรือว่าเป็นคนขี้เกียจ เพราะคุณอาจจะเป็นหนึ่งในคนที่มี “ปัญหานอนกรน” ในระหว่างหลับได้
การนอนกรน เกิดจากอะไร?
การกรน (Snoring) เกิดจากกล้ามเนื้อคอคลายตัวและหย่อนตัวในขณะที่กำลังหลับ ส่งผลให้ทางเดินหายใจแคบลง เมื่อมีการอากาศไหลผ่านทางเดินหายใจที่แคบๆ จะทำให้การหายใจเข้า-ออกแรงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นเสียงกรนขึ้น นอกจากนี้แล้วการกรนยังเกิดจากการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงของเนื้อเยื่อบริเวณคอ ไม่ว่าเป็นส่วนของเพดานคอ ลิ้นไก่ ลิ้น หรือทอนซิลที่เกิดการสั่นเมื่อหายใจเข้า-ออก
สาเหตุของการนอนกรน
- เพศชายจะมีโอกาสมีภาวะนอนกรนมากกว่าผู้หญิง
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอคลายตัวและเหี่ยวย่นมากกว่าปกติ
- โรคอ้วน ที่มีไขมันส่วนเกินไปสะสมที่บริเวณคอมากเกินไป
- การใช้ยาบางประเภท จะไปลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการขายช่องหายใจ
- กรรมพันธุ์ ผู้ที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคชนิดนี้ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนอนกรนมากกว่าคนอื่นๆ
- โรคบางชนิด เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด ฯลฯ
ประเภทของอาการนอนกรน
- การนอนกรนชนิดที่ไม่เป็นอันตราย (simple snoring) จะมีเสียงกรนดังสม่ำเสมอ ไม่มีการหายใจสะดุดในระหว่างกรน เนื่องจากกล้ามเนื้อคอตีบแคบเพียงแค่บางส่วน ทำให้อากาศไหลผ่านได้ปกติ ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แต่อาจจะสร้างความน่ารำคาญให้แก่คนที่นอนอยู่ข้างๆ
- การนอนกรนชนิดที่เป็นอันตราย (snoring with obstructive sleep apnea) จะมีเสียงกรนที่ดังเป็นอย่างมาก และมักจะมีอาการสะดุ้งตื่น อาการสำลักในระหว่างนอน เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เนื่องจากกล้ามเนื้อคอหย่อนตัวจนปิดช่องทางเดินหายใจ ทำให้ไม่มีอากาศไหลผ่าน เมื่อตื่นมาจึงรู้สึกไม่สดชื่น รู้สึกอยากนอนตลอดเวลา ประสิทธิภาพการทำงานไม่เต็มร้อย หงุดหงิดง่าย ขี้ลืมง่าย ไม่มีสมาธิในระหว่างวัน
สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าการนอนกรนเข้าขั้นอันตราย!
- มีเสียงกรนที่ดังมาก
- ปัสสาวะบ่อยในช่วงเวลากลางคืน
- ตื่นนอนแล้วรู้สึกอ่อนเพลีย เหมือนหลับไม่เต็มอิ่ม
- มีอาการหงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย ความจำไม่ดี ขาดสมาธิในการทำงาน
- มีอาการปวดศีรษะหลังตื่นนอน
- มีการกัดฟันในระหว่างนอน
- มีอาการหายใจไม่ออกในระหว่างที่หลับ
วิธีรักษาปัญหาการนอนกรน
วิธีแก้ปัญหาการนอนกรนด้วยตัวเอง
- ปรับเปลี่ยนท่านอน โดยให้เปลี่ยนนอนหงายไปเป็นนอนตะแคง พร้อมกับยกศีรษะให้สูงขึ้น
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน ให้นอนให้เป็นเวลามากยิ่งขึ้น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน
- งดการดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอื่นๆ
- ทำความสะอาดห้องนอนอยู่เป็นประจำ เพื่อลดความรุนแรงของโรคทางเดินหายใจ ที่ทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง
- ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยขยายทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น เช่น การใส่ยางฟัน เป็นต้น
วิธีการแก้ปัญหาการนอนกรนด้วยวิธีทางการแพทย์
- รักษาด้วยเลเซอร์ โดยการอาศัยพลังงานแสงเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีการสร้างคอลลาเจนเพดานลิ้นไก่ขึ้นมาใหม่ กระตุ้นให้ลิ้นไก่ยกตัวสูงขึ้น ลดการกีดขวางช่องทางเดินอากาศ
- การใช้เครื่องอัดแรงดันอากาศ (CPAP: Continuous Positive Airway Pressure) ทำให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้น เพื่อลดการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- รักษาโดยการผ่าตัด (Surgical Treatment) เพื่อรักษาอาการนอนกรนสามารถรักษาได้หลากหลายวิธี เช่น การผ่าตัดต่อมทอนซิล การผ่าตัดผนังกั้นช่องจมูกคด การผ่าตัดบริเวณโคนลิ้น การใช้คลื่นวิทยุจี้ ผ่าตัดเลื่อนกระดูกกรามบนล่างและขากรรไกร หรือการฝังพิลลาร์
- การดูดไขมัน ช่วยกำจัดไขมันส่วนเกินที่ทำให้ทางเดินหายใจ หรือเนื้อเยื่อบริเวณผนังช่องลมตีบลง จนส่งผลกระทบต่อการหายใจให้กว้างขึ้น ให้หายใจง่ายขึ้น
แก้ปัญหานอนกรนด้วย “การดูดไขมัน” เพื่อชีวิตดียิ่งขึ้น
สำหรับหนุ่มสาวที่มีรูปร่างใหญ่ อยากเผยเค้าโครงของใบหน้า อยากได้ใบหน้า V-Shape พร้อมกับรักษาการนอนกรนไปพร้อมๆ กัน แนะนำให้เลือกรักษาด้วยการดูดไขมันด้วยเครื่องดูดไขมันสุดทันสมัย ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ก่อให้เกิดรอยแผลเป็น ในการช่วยกำจัดไขมันส่วนเกินบริเวณคอ/เหนียง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหานอนกรน