การนอนดึกส่งผลกระทบต่อน้ำหนักตัวอย่างไร?
เหล่าวัยรุ่น วัยเรียน ที่กลางวันหลับกลางคืนกลับตาใสเหมือนตากวางไม่ยอมหลับไม่ยอมนอน กว่าจะนอนในแต่ละวันก็เกือบพระอาทิตย์ขึ้นนั้น ไม่ได้ทำให้นาฬิกาชีวิตรวนจนกระทบต่อรูปแบบการดำรงชีวิตเท่านั้น เพราะการนอนดึกอยู่เป็นประจำยังทำให้น้ำหนักตัวขึ้นเร็วจนเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ ใครที่กำลังลดน้ำหนักรักษาหุ่นอยู่ต้องระวังห้ามนอนดึกเป็นอันขาด!
ในแต่ละวัยควรจะนอนหลับอย่างน้อยวันละกี่ชั่วโมง
ความต้องการในการนอนหลับของแต่ละคนในแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย เช่น อายุ ปัญหาสุขภาพ ฯลฯ แต่โดยทั่วไปแล้วปริมาณการนอนหลับเฉลี่ยของแต่ละช่วงวัยควรจะเป็นดังนี้
- อายุ 0-3 เดือน ควรนอนหลับในแต่ละวันประมาณ 14-17 ชั่วโมง
- อายุ 4-11 เดือน ควรนอนหลับในแต่ละวันประมาณ 12-15 ชั่วโมง
- อายุ 1-2 ปี ควรนอนหลับในแต่ละวันประมาณ 11-14 ชั่วโมง
- อายุ 3-5 ปี ควรนอนหลับในแต่ละวันประมาณ 10-13 ชั่วโมง
- อายุ 6-13 ปี ควรนอนหลับในแต่ละวันประมาณ 9-11 ชั่วโมง
- อายุ 14-17 ปี ควรนอนหลับในแต่ละวันประมาณ 8-10 ชั่วโมง
- อายุ 18-25 ปี ควรนอนหลับในแต่ละวันประมาณ 7-9 ชั่วโมง
- อายุ 26-64 ปี ควรนอนหลับในแต่ละวันประมาณ 7-9 ชั่วโมง
- อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรนอนหลับในแต่ละวันประมาณ 7-8 ชั่วโมง
สาเหตุที่ทำให้นอนดึก นอนน้อย
- เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ควบคุมการนอนหลับมีปัญหา
- สภาพแวดล้อมไม่เหมาะแก่การนอนหลับ เช่น อากาศร้อน เสียงดัง แสงไฟแยงตา ฯลฯ
- เกิดภาวะเจ็ตแล็ก (Jet lag)
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- การดื่มแอลกอฮอล์
- ผลกระทบจากการทานยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด, ยาแก้หอบหืด, ยากลุ่ม methylphenidate ฯลฯ
- เปลี่ยนแปลงเวลานอนไปจากปกติ
อันตรายของการนอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ
- ระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ
- ระบบย่อยอาหารทำงานไม่ดี
- หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
- มีอาการหลงๆ ลืมๆ
- การรับรู้ การตัดสินใจ และการตอบสนองช้าลง
- เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคอ้วน ฯลฯ
- ภูมิคุ้มกันลดลง
- อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เบลอ
- สมาธิสั้น
ทำไมนอนดึกถึงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มสูงขึ้น
คนที่นอนน้อย นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติไปจากเดิม บางคนอาจจะผลิตออกมาไม่สมดุล หรือบางคนอาจจะผลิตออกมาได้มาก/น้อยกว่าปกติ สำหรับสาเหตุที่ทำให้ผู้ที่นอนดึกมีน้ำหนักเพิ่มสูงขึ้นนั้น เป็นเพราะว่าร่างกายได้กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) และฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมามากกว่าปกติ ฮอร์โมนเกรลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกหิว เมื่อร่างกายหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ออกมามากก็จะทำให้เรารู้สึกหิวมากกว่าปกติ รู้สึกหิวตลอดเวลา กินยังไงก็ไม่อิ่มสักที ในส่วนของฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นที่เกี่ยวกับความเครียด เมื่อร่างกายมีฮอร์โมนคอร์ติซอลมากกว่าปกติ ก็จะทำให้ร่างกายของเราเกิดความเครียด ความวิตกกังวลมากผิดปกติ จนทำให้ร่างกายรู้สึกหิว รู้สึกอยากอาหารมากกว่าเดิม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนตารางชีวิต ลดความเสี่ยงโรคอ้วน
- ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิต งานเครียดๆ ที่ส่งผลต่อการนอนหลับให้ทำตอนกลางวัน แต่งานสบายๆ ชิลๆ ให้ทำช่วงเย็น
- ปรับเปลี่ยนเวลาเข้านอนให้เร็วขึ้น
- ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของห้องนอน ให้มีบรรยากาศที่น่านอนมากยิ่งขึ้น
- หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนนอน
- หลีกเลี่ยงการเล่นมือถือ หรือดูทีวีก่อนนอน
- ออกกำลังกายให้ร่างกายผ่อนคลายช่วยให้หลับได้สบายยิ่งขึ้น
ปั้นหุ่นสวย กำจัดไขมันส่วนเกินด้วยการดูดไขมัน
สำหรับใครที่สามารถปรับพฤติกรรมการทาน พฤติกรรมการนอนให้เป็นปกติเรียบร้อย แต่ยังเจอกับปัญหาไขมันส่วนเกินสะสมอยู่ตามจุดต่างๆ จากปัญหาระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ อยากกำจัดไขมันส่วนนี้ออกจากร่างกาย สามารถแก้ปัญหาไขมันส่วนเกินได้อย่างตรงจุดด้วยการดูดไขมัน ที่สามารถกำจัดไขมันได้แทบทุกส่วนในร่างกาย เช่น ต้นแขน ต้นขา หน้าท้อง เอว สะโพก น่อง เหนียง หนอกคอ เป็นต้น ที่ทั้งปลอดภัยและเห็นผลเร็วแบบเร่งด่วน พักฟื้นไม่นาน แถมยังสามารถออกแบบเรือนร่างได้ตามที่ต้องการอีกด้วย