หน้าแรก » ไลฟ์สไตล์ » ไขมันส่วนไหนในร่างกายอันตรายมากที่สุด

ไขมันแบบไหนไม่ทำให้ร่างกายเจ็บป่วย

“ไขมัน” เป็นหนึ่งในสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย ช่วยรักษาสมดุลของผิวหนัง ช่วยในการละลายและดูดซึมวิตามิน ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญให้แก่ร่างกาย ถ้าหากทานในปริมาณที่เหมาะสมต่อพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน (BMR: Basal Metabolic Rate)

แต่ถ้าหากทานมากเกินไปจนเกินความต้องการของร่างกาย ก็จะทำให้เกิดการสะสมไขมันส่วนเกินตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย

การสะสมไขมันส่วนเกินสามารถพบได้หลายส่วนในร่างกาย ทำให้ผลกระทบของการสะสมไขมันในแต่ละส่วนแตกต่างกันออกไป การสะสมไขมันบางที่อาจจะส่งผลกระทบแค่ความงามและความมั่นใจเพียงเท่านั้น แต่การสะสมไขมันบางบริเวณก็ทำให้เกิดโรคอันตรายมากมาย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน ไขมันในช่องท้อง ฯลฯ เราไปดูกันว่าการสะสมไขมันส่วนไหนบ้าง ที่ทำให้ร่างกายเจ็บปวดและไม่ทำให้ร่างกายเจ็บป่วย

เนื้อเยื่อไขมันในร่างกายแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

  1. ไขมันสีน้ำตาล (BROWN ADIPOSE TISSUE; BAT) เป็นไขมันที่พบมากในวัยเด็ก และจะค่อยๆ ลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ไขมันสีน้ำตาลเป็นไขมันที่เต็มไปด้วยธาตุเหล็กจำนวนมาก มีหน้าที่เผาผลาญ/สลายพลังงานเปลี่ยนเป็นความร้อน เพื่อใช้ในการรักษาสมดุลของอุณหภูมิภายในร่างกาย
  2. ไขมันสีขาว (WHITE ADIPOSE TISSUE; WAT) เป็นไขมันที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมพลังงานภายใน เพื่อเอาไว้ใช้ยามที่ร่างกายต้องการในยามฉุกเฉิน

การสะสมของไขมันในร่างกาย

การสะสมไขมันภายในร่างกายส่วนใหญ่มักจะพบมากบริเวณหน้าท้อง ประกอบไปด้วย

1. ไขมันใต้ผิวหนัง (subcutaneour fat)

เป็นไขมันที่อยู่ติดกับผิวหนังและกล้ามเนื้อ ไขมันใต้ผิวหนังเป็นไขมันที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่อาจจะทำให้เกิดรอยแตกลายได้ถ้าหากไม่ดูแลให้ดี ไขมันชั้นนี้เป็นไขมันที่ปกคลุมกล้ามเนื้อท้อง ปกคลุม six pack หรือร่อง 11 เอาไว้อีกชั้นหนึ่ง ทำให้การออกกำลังกายเพื่อสร้างหุ่นสวยเป็นเรื่องยาก เพราะต้องลดไขมันที่ชั้นใต้ผิวหนังให้หมดสักก่อนถึงจะพบกับหุ่นสวยๆ

2. ไขมันในช่องท้อง (visceral fat)

เป็นไขมันที่อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อท้องและอวัยวะในช่องท้อง ไขมันในช่องท้องเป็นไขมันที่อันตรายที่สุดในร่างกาย เพราะไขมันชนิดนี้มักจะไปเกาะอยู่กับอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และขัดขวางการทำงานของร่างกายอีกด้วย ทำให้คนที่มีไขมันในช่องท้องมาก มักจะมีเอวหนา พุงยื่น พุงห่วงยาง เสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพมากมาย เช่น

  • โรคอัลไซเมอร์
  • เส้นเลือดในสมองตีบ
  • เบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ภาวะไขมันพอกตับ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคหัวใจ

การรักษาไขมันในช่องท้องไม่สามารถรักษาด้วยเทคโนโลยีทางด้านความงามหรือดูดไขมันร่วมได้ ถ้าอยากลดไขมันในช่องท้องเพื่อสุขภาพที่ดี หรือหุ่นที่ลีนสวย เห็นร่อง 11 หรือเห็น six pack ชัดเจน จะต้องปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิต ควบคู่ไปกับการควบคุมการทานอาหารและออกกำลังกาย

ไอเดียอาหารลดน้ำหนักที่ปลอดภัย เพื่อหุ่นสวยสุขภาพดี

1. Keto คือ การเลือกทานอาหารที่เน้นไขมันชนิดดีเป็นหลัก ตามมาด้วยการทานโปรตีน คาร์ป หรือคาร์โบไฮเดรตเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 20-50 กรัม)

2. Paleo คือ การทานอาหารที่เน้นความเป็นธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไขมันดี ปลา พืชผักต่างๆ ที่ไม่มีการปรุงแต่งรสชาติ คล้ายกับการทานอาหารคลีน

3. Atkins คือ การเน้นทานอาหารจำพวกโปรตีนมากกว่าคาร์โบไฮเดรต

4. IF คือ การทานอาหารโดยควบคุมแคลอรี พร้อมกับกำหนดช่วงเวลาการอดอาหารหรือทานอาหาร

ความแตกต่างของอาหารลดน้ำหนักในแต่ละแบบ

ไขมันในช่องท้องเป็นไขมันที่ค่อนข้างลดยาก อาจจะต้องใช้ความอดทนและความพยายามเป็นอย่างมาก เพราะการลดไขมันส่วนนี้ใช้เวลานานหลายเดือนจึงจะเห็นผลชัดเจน

วิธีวัดปริมาณไขมันหน้าท้อง

  • ผู้หญิง หากมีตัวเลขมากกว่า 0.80 แสดงว่ามีไขมันช่องท้องปริมาณมาก
  • ผู้ชาย หากมีตัวเลขมากกว่า 0.95 แสดงว่ามีไขมันช่องท้องปริมาณมาก

สำหรับคนไหนที่ไม่มั่นใจว่าพุงยื่น พุงย้วย ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากอะไร สามารถติดต่อสอบถามแพทย์เพื่อตรวจสอบเบื้องต้น เพราะจะได้เลือกวิธีรักษาที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด เพื่อผลลัพธ์ที่เห็นผลเร็วมากที่สุด

ติดต่อเรา