BMI (ดัชนีมวลกาย) สำหรับชาวเอเชีย คำนวณยังไงให้วิเคราะห์รูปร่างได้อย่างชัดเจน
BMI คือ
สุขภาพแข็งแรง ร่างกายสมส่วน มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้คุณลดความเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ โดยการประเมินความสมดุลร่างกาย ด้วยการนำน้ำหนักตัว (weight) และส่วนสูง (height) มาหาค่าน้ำหนัก BMI หรือ ดัชนีมวลกายนั้น ได้รับการยอมรับในหลายๆ วงการสุขภาพและ wellness ทั่วโลก แต่ถึงอย่างไร รูปร่าง สัดส่วน ไขมันของมนุษย์เราก็มีความแตกต่างกันไป ทำให้การคำนวณหาค่า BMI (Body Mass Index) หรือดัชนีมวลกายนั้นต้องคำนึงถึงภูมิภาคด้วยเช่นกัน เช่น เราเป็นคนไทย ก็ควรคำนวณดัชนีมวลกายที่เหมาะสมกับสรีระของชาวเอเชีย เพื่อให้ได้ค่าที่อยู่ในเกณฑ์ ได้สัดส่วนสมตามสรีระของชาวเอเชียนั่นเอง
BMI ดัชนีมวลกาย เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยเป็นการคำนวณหาค่าความเหมาะสมที่ควรจะเป็น ไม่ได้บ่งบอกว่าคุณมีภาวะความเจ็บป่วย หรือ กำลังเผชิญกับโรคอ้วน รวมทั้งยังไม่สามารถระบุถึงกล้ามเนื้อในร่างกาย โดยเฉพาะในผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผลจากการคำนวณอาจได้ค่า BMI ไม่ตรงกับตัวเลขที่ควรจะเป็น รวมทั้งผู้ป่วยบางโรคหรือมีความผิดปกติกับร่างกายบางชนิด เช่น กระดูกคด หรือ โปลิโอ ก็อาจทำให้ค่าที่ได้มีความผิดเพี้ยนไปได้เช่นกัน
อย่างไรก็ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เพียงแสดงค่าความเหมาะสมของน้ำหนักที่ควรจะเป็น ในการให้คุณควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และหรือร่วมกับการคำนวณค่าน้ำหนักที่เหมาะสมในการดูดไขมันนั่นเอง
“การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นการประเมินร่างกายแบบสากลที่ได้รับการยอมรับในการรักษาพยาบาล ความงาม ศัลยกรรม ฟิตเนส”
BMI สูตร : การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย
ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) หรือมาตรฐานน้ำหนักที่ใช้ประเมินภาวะความสมดุลของร่างกายตั้งแต่วัย 20 ปีขึ้นไป ด้วยการนำน้ำหนักตัวและส่วนสูงมาคำนวณเพื่อคำนวณค่าเบื้องต้น
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)2
BMI | เกณฑ์ประเมิน | ความเสี่ยง |
ต่ำกว่า 18.50 | ผอม | ค่อนข้างมาก |
ระหว่าง 18.50-22.90 | สุขภาพดี | ปกติ |
ระหว่าง 23-24.90 | อวบ ระดับ 1 | อันตรายเล็กน้อย |
ระหว่าง 25-29.90 | อวบ ระดับ 2 | อันตรายปานกลาง |
มากกว่า 30 | อ้วน | อันตรายมาก |
ผู้ที่มีค่า BMI ต่ำกว่า 18.50
ระดับดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ ผอม มีความเสี่ยงค่อนข้างมากที่ร่างกายจะขาดสารอาหาร ส่งผลกระทบให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรออกกำลังกายและทานอาหารเสริมโปรตีนเพื่อให้ร่างกายมีสารอาหารในการซ่อมแซมร่างกาย
ผู้ที่มีค่า BMI ระหว่าง 18.50-22.90
ระดับดัชนีมวลกายมาตรฐาน มีความสมดุลสมส่วน
ผู้ที่มีค่า BMI ระหว่าง 23-24.90
ระดับดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อวบ ระดับ 1 มีน้ำหนักเกินมาตรฐานเพียงเล็กน้อย ควรควบคุมไขมันในร่างกาย โดยออกกำลังกายร่วมกับการทานอาหาร เพื่อควบคุมให้ไขมันอยู่ในระดับมาตรฐาน
ผู้ที่มีค่า BMI ระหว่าง 25-29.90
ระดับดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อวบ ระดับ 2 มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานปานกลาง และมีแนวโน้มเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนที่จะทำให้เกิดภาวะโรคอ้วนได้สูง ควรดูแลตัวเองโดยเร็ว เพื่อให้น้ำหนักตัวกลับมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยการดื่มน้ำระหว่างวัน นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายและงดทานอาหารหวาน มัน รสจัด
ผู้ที่มีค่า BMI มากกว่า 30
ระดับดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วน มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานรุนแรง เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนมากมายและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็กร่างกาย ร่วมกับควบคุมน้ำหนัก เพื่อไม่ให้สุขภาพทรุดโทรมไปมากกว่าเดิม
ดัชนีมวลกายที่เหมาะสมกับชาวเอเชีย
BMI | เกณฑ์ประเมิน |
ต่ำกว่า 18.50 | น้ำหนักน้อย |
ระหว่าง 18.50-22.90 | น้ำหนักปกติ |
ระหว่าง 23-24.5 | น้ำหนักเกิน |
ระหว่าง 25-29.99 | อ้วน |
มากกว่า 30 | อ้วน |
BMI ผู้ชาย (BMI Male) และ BMI ผู้หญิง (BMI Female) เหมือนหรือต่างกัน
โดยมากเกณฑ์ที่แสดงให้เห็นเหล่านี้เป็นค่ากลางที่ได้ ยังไม่ได้คำนวณในส่วนของปริมาณกล้ามเนื้อในร่างกาย ทำให้เราจะคาดคะเนและประเมินจากตัวเลขที่เห็นเป็นหลัก แล้วค่อยมาตรวจสอบหาค่าความเฉลี่ยอย่างเหมาะสมด้วยเทคนิคทางการแพทย์ในลำดับต่อไป ดังนั้น ตัวเลขที่ได้จากค่า BMI ผู้ชายและ BMI ผู้หญิง จึงมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
BMI ผู้หญิง มักมีปริมาณไขมันในร่างกายสูงกว่าผู้ชาย ด้วยฮอร์โมนผู้หญิงมีส่วนในการเร่งสารอาหารให้เปลี่ยนเป็นไขมันได้ง่ายกว่า ทำให้พบว่า 25% ของค่ามวลกายนั้นคือไขมัน ขณะที่ในผู้ชายพบไขมันเพียง 15% เท่านั้น
นอกจากนี้ วัย และปริมาณกล้ามเนื้อยังมีผลทำให้การคำนวณค่า BMI มีผลที่แตกต่างกันอีกด้วย
เมื่อทราบค่า BMI นี้แล้วควรวัดเส้นรอบเอวโดย
- ผู้ชายเอเชีย ควรมีเส้นรอบเอวไม่เกิน 87.75 เซนติเมตร
- ผู้หญิงเอเชีย ควรมีเส้นรอบเอวไม่เกิน 79.75 เซนติเมตร
หากมากกว่านี้ หมายความว่า คุณเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง
เกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับชาวเอเชียในแต่ละประเทศ
ประเทศ | เส้นรอบเอว (เซนติเมตร) | เส้นรอบเอว (เซนติเมตร) | BMI (ดัชนีมวลกาย) | BMI (ดัชนีมวลกาย) |
ผู้ชาย | ผู้หญิง | ผู้ชาย | ผู้หญิง | |
อินเดีย | 90 | 80 | 25.0 | 25.0 |
อิหร่าน | 87 | 82 | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ |
จีน | 85 | 80 | 24.0 | 24.0 |
ญี่ปุ่น | 85 | 80 | 24.0 | 23.0 |
เกาหลี | 83 | 73 | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ |
มาเลเซีย | 81 | 80 | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ |
ไทย | 87.75 | 79.75 | 23.81 | 23.65 |
ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) แสดงให้เห็นว่าคุณมีเกณฑ์ความเสี่ยงมากกว่าปกติ ควรนำค่าที่ได้เหล่านั้นไปตรวจสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อหาความเสี่ยงของโรค
- ความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวาน
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคถุงน้ำดี
- โรคข้อเข่าเสื่อม
- ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
- โรคมะเร็งต่างๆ
- ฯลฯ
ควบคุมน้ำหนักเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดีต่อสุขภาพทำได้ง่ายดาย โดย
- เลือกรับประทานอาหารที่มีโภชนาการที่ดีต่อร่างกาย
- ทานอาหารให้ครบ 3 มื้อในแต่ละวัน
- หลีกเลี่ยงของทอด ของมัน เนื้อสัตว์ติดมัน น้ำตาล น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150-300 นาทีต่อสัปดาห์
- ดื่มน้ำสะอาดร่างกายวัน อย่างน้อย 2 ลิตร
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ดูดไขมันด้วยเทคนิคทางกายแพทย์
โดย Bodyfatclinic (รัตตินันท์เมดิคอล) มาตรฐานการให้บริการด้านการดูดไขมัน เชี่ยวชาญทางการรักษา ผ่าตัด ดูดไขมันด้วยเทคโนโลยีทันสมัย Body Tite และ PAL ควบคุมและให้บริการโดยอาจารย์แพทย์ ห้องผ่าตัดขนาดใหญ่เทียบเท่าโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ ปลอดภัยสูง แผลเล็ก เจ็บน้อย เห็นผลรวดเร็ว
การคำนวณค่า BMI เป็นส่วนสำคัญในการนำมาวิเคราะห์ดัชนีมวลกายที่เหมาะสมในการวินิจฉัยปริมาณไขมันสะสมในร่างกาย ร่วมกับแนวโน้มโอกาสความเจ็บป่วย โรคแทรกซ้อนจากภาวะอ้วน น้ำหนักตัวเกิน เพื่อให้กลับมาดูแลร่างกาย รูปร่างได้อย่างเหมาะสมในแต่ละบุคคล